วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Q&A เรื่องการบริจากเลือด

      ๑. ทำไมเราจึงต้องบริจาคเลือด?


การให้เลือดเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป เป็นหนทางเดียวที่จะแก้ไขภาวะช็อค (shock) เนื่องจากการเสียเลือด ในสถานที่ที่ไม่มีเลือดเพียงพอความต้องการ เนื่องจากไม่มีโรงงานสร้างเลือด เลือดจึงต้องได้มาจากการบริจาค โดยศรัทธาจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น


    ๒. การบริจาคเลือดมีอันตรายเกิดขึ้นได้หรือไม่?


ผู้ที่เคยบริจาคเลือด ย่อมสามารถยืนยันได้ว่าการบริจาคเลือดนั้นไม่มีอันตรายเลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งนี้เนื่องจากการบริจาคเลือดครั้งหนึ่ง ๆ นั้น ผู้ บริจาคเลือด จะเสียสละเลือดส่วนสำรองเพียงบางส่วนเท่านั้น ตามปกติร่างกายมีเลือดสำรองเก็บไว้ประมาร 4 ส่วนของเลือดที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด 12 ส่วน แต่ในการบริจาคเลือดครั้งหนึ่งนั้น ผู้บริจาคได้บริจาคได้เพียง 1 ส่วนของจำนวนเลือดที่มีสำรองไว้เท่านั้น


    ๓. ท่านจะต้องมีคุณสมบัติเช่นไรบ้าง?


จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้ผู้ใดก็ตามที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปีบริบูรณ์ มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี เมื่อผ่านการตรวจสุขภาพที่จำเป็นก่อนการบริจาคเลือด เช่น วัดอุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร ความดันโลหิต ความเข้มข้นของเลือด ก็สามารถบริจาคเลือดได้ แต่เลือดของท่านอาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยได้ หากท่านเป็นหรือเคยเป็นโรคตับอักเสบ หรือ ดีซ่าน โรคมาเลเรีย และ โรคซิฟิลิส


    ๔. การบริจาคเลือดครั้งหนึ่ง ๆ นั้น ใช้เวลานานเท่าใด?


เวลาที่ใช้จริง ๆ ในการบริจาคเลือดนั้นประมาณไม่เกิน 10 นาที แต่ถ้ารวมเวลาที่เสียไปในการลงทะเบียน ตรวจร่างกายนั่งพักผ่อน ดื่มเครื่องดื่มภายหลังบริจาคเลือดด้วยแล้ว จะใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณไม่เกิน 45 นาที


    ๕. หมู่เลือดของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?


หมู่เลือดเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์มาจาก บรรพบุรุษ ดังนั้นจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่ในบางโอกาสซึ่งพบได้น้อยมาก อาจมีการรายงานหมู่เลือดผู้บริจาคเลือดผิดพลาดไปได้ เนื่องจากการตรวจผิดหรือลงผลผิด


    ๖. หมู่เลือดมีความสำคัญในการให้เลือดหรือไม่?


เกี่ยวกับการให้เลือด หมู่เลือดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูเลือดระบบเอบีโอ มีความสำคัญมาก ต้องเลือดหมู่เลือดเอบีโอชนิดเดียวกัน (บางที หมู่เลือดอาร์เอ็ชด้วย) ที่ตรวจแล้ว พบว่าเข้ากันได้ ก่อนที่จะให้เลือดทุกครั้งบางคราวแม้จะมีเลือดเอบิโอชนิดเดียวกับผู้ป่วย ก็ยังอาจเสียชีวิตจากการให้เลือดได้ เนื่องจากเข้าไม่ได้ในหมู่เลือดระบบอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญทางคลี


    ๗. หมู่เลือดที่มีความสำคัญที่สุด มีอะไรบ้าง?


หมู่เลือดที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ หมู่โอ พบได้ประมาณร้อยละ 38 ของประชากรไทย หมู่เอ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของประชากรไทย หมู่บี พบได้ประมาณร้อยละ 35 ของประชากรไทย หมู่เอบี พบได้ประมาณร้อยละ 7 ของประชากรไทย หมู่เลือดเอบีโอแต่ละชนิด จะพบว่าประมาณ 1 ถึง 3 คน ใน 1,000 คน เป็นหมู่เลือดอาร์เอ็ชลบ


    ๘. เลือดสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเท่าใด?


เลือดภายในร่างกาย เม็ดเลือดแดงเม็ดหนึ่ง ๆ มีอายุอยู่ในกระแสโลหิตได้ประมาณ 120 วัน

เลือด 1 ถุง 350 - 400 ซีซี ของคุณสามารถช่วยใครได้บ้าง?

เลือดที่ได้รับบริจาค 1 ถุง (300-450 มล.) สามารถนำไปปั่นแยก ...ด้วยเครื่องปั่นชนิดพิเศษ ...
ซึ่งจะได้ส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ 2-4 ชนิด ได้แก่

**เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cells)

**เลือดที่มีเม็ดเลือดขาวน้อย (Leukocyte Poor Blood)

**เกร็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrate)

**พลาสมา-สดแแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma)

**ไครโอปริซิปิเตท (Cryoprecipitate)

**พลาสมา (Plasma) – ส่วนน้ำที่เหลือ...จากการแยกเม็ดเลือดแดงเข้มข้น... ออกจากเลือด ....มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ....โปรตีนและน้ำ...



เอาไปใช้อย่างนี้ครับ



*เลือด*

ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมาก จนเกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ มีสาเหตุมาจาก

-การผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน หรือ ในโรงงานอุตสาหกรรม

-โดนยิง โดนแทงด้วยของมีคม การตกเลือด การแท้ง

-โรคตับแข็ง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ


*เม็ดเลือดแดงเข้มข้น*

ผู้ป่วยมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และร่างกายสร้างไม่ได้

-โรคโลหิตจาง (Aplastic Anemia), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคธาลัสซีเมีย

-โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง

-เลือดออกในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ ฯลฯ


*เกร็ดเลือดเข้มข้น

การที่จำนวนเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะเลือดออกไม่หยุดที่อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่

-โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

-โรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง

(อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด ถ้าได้รับเกร็ดเลือดทดแทนไม่ทัน ...อาจเสียชีวิตได้)

-การผ่าตัดหัวใจ และ ผู้ป่วยที่เกร็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้ อาจเป็นโดยกำเนิด ฯลฯ


*พลาสมา-สดแช่แข็ง

-โรคฮีโมฟีเลียทุกชนิด, โรคไข้เลือดออก, โรคตับแข็ง

-มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, การผ่าตัดหัวใจ / ตับ ฯลฯ


*ไครโอปริซิปิเตท

-โรคฮีโมฟีเลีย เอ, การตกเลือดภายหลังคลอด, การผ่าตัดหัวใจ


*พลาสมา

สำหรับผู้ป่วยบางโรค ที่มีการสูญเสียน้ำอย่างมากจนเกิดภาวะช็อค

-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก, ไข้เลือดออก, โรคไต โรคตับ (ที่มีอาการบวมมาก)

คำถาม 20 ข้อ ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

เคยมาตั้งใจมาบริจาคเลือดแล้ว ปรากฎว่าเลือดใช้ไม่ได้บ้างไหมครับ เราเองก็เสียดายส่วนหนึ่ง แต่คนที่ต้องการเลือด อาจเสียชีวิตเลยก็ได้ครับ ผมคัดแยกบทความดี ๆ เราจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวสำหรับการบริจาคเลือดไว้ 20 ข้อดังนี้ครับ

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี

2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด

5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ

6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้

7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้ จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด

8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่ ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว

9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้

- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด

10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้

11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV

12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด

13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย

14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง

15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด

16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่ การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี

17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง

18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน

19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน

20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป

ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today